วันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รายงานการสำรวจไฟฟ้าสาธารณะในชุมชน


บทนำ
รายงานเรื่องการสำรวจไฟฟ้าสาธารณะในชุมชนของตนเองฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้กับทุกท่านที่สนใจ ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะซึ่งมีความสำคัญมาก เป็นสิ่งสำคัญที่คนในชุมชนทุกคนควรรู้
          ดังนั้นรายงานเรื่องการสำรวจไฟฟ้าสาธารณะในชุมชนของตนเองฉบับนี้ จึงได้กล่าวถึง การสำรวจไฟฟ้าสาธารณะในชุมชนของตนเอง, ชื่อสถานที่สำรวจ, ข้อเสนอแนะและสรุปผลที่ได้จากการสำรวจไฟฟ้าสาธารณะในชุมชนซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเนื้อหาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนทั้งสิ้น
          ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเรื่องการสำรวจไฟฟ้าสาธารณะในชุมชนของตนเองฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อทุก ๆ ท่านที่สนใจ และทางผู้จัดทำต้องขออภัยหากข้อความในรายงานฉบับนี้อาจบกพร่องหรือผิดเพี้ยนไป อันสืบเนื่องจากการพิมพ์

   นายบุญจันทร์  พินิจ
                                                                                      ผู้จัดทำ

  การสำรวจไฟฟ้าสาธารณะในชุมชนของตนเอง
ชื่อสถานที่สำรวจ
หมู่ที่ 1, 2, 11, 13 ตำบลหนองงูเหลือม  อำเภอเบญจลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ
          ความสำคัญและที่มาของปัญหา
          ไฟฟ้าสาธารณะ เป็นบริการขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับจากภาครัฐ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวก และเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ไฟฟ้าสาธารณะจึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่มีส่วนช่วยลดการเกิดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ปัญหาการมั่วสุมของเยาวชน และปัญหาการก่ออาชญากรรมต่าง ๆ ในยามวิกาล เช่น การลักขโมย ฉกชิง วิ่งราว ทำร้ายร่างกาย ฯลฯ ซึ่งการให้บริการไฟฟ้าสาธารณะแก่ประชาชน เป็นภารกิจ หน้าที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
          ไฟฟ้าสาธารณะ หมายถึง การติดตั้งโคมไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบแรงต่ำ 220-230 โวลต์ (1 เฟส) และ 380-400 โวลต์ (3 เฟส) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลในบริเวณแนวถนนสายหลัก แนวถนนสายรอง ทางแยก วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร สะพาน สะพานลอยคนข้าม ทางเดินเท้า (ฟุตบาท) ทางม้าลาย สวนสาธารณะ ตลาด สนามเด็กเล่น ลานจอดรถสาธารณะ ลานกีฬา ชุมชน ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง และป้ายจอดรถประจำทาง มาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ,มาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ: 2547)
           
          ความหมายของงานไฟฟ้าสาธารณะ
          ไฟฟ้าสาธารณะ หมายถึง การติดตั้งโคมไฟฟ้าแสงสว่างระบบแรงต่ำ 220-230โวลต์ (1 เฟส) และ 380-400 โวลต์ (3 เฟส) ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลในบริเวณแนวถนนสายหลัก แนวถนนสายรอง ทางแยก วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร สะพาน สะพานลอยคนข้ามทางเดินเท้า (ฟุตบาท) ทางม้าลาย สวนสาธารณะ ตลาด สนามเด็กเล่น ลานจอดรถสาธารณะ ลานกีฬาชุมชน ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง และป้ายจอดรถประจำทาง (ไม่มีศาลา) (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย : 2547 )
          - ถนนสายหลัก หมายถึง ถนนสายหลักของท้องถิ่น เช่น ถนนที่ต่อเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดิน ถนนในเขตชุมชนหนาแน่น เป็นต้น
- ถนนสายรอง หมายถึง ถนนต่อแยกจากถนนสายหลัก
- ทางแยก หมายถึง บริเวณที่ถนนสองเส้นหรือมากกว่ามาเชื่อมต่อกัน

          อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ
          โคมไฟฟ้า (Luminaire) หมายถึง อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ประกอบด้วยหลอดไฟฟ้า และชุดประกอบ เพื่อติดตั้งให้แสงสว่างแก่บริเวณที่ต้องการ ซึ่งประกอบด้วย
          () ตัวโคมไฟ ทาด้วยวัสดุที่ไม่ขึ้นสนิม ไม่ผุกร่อนและแข็งแรง ทนต่อดินฟ้าอากาศ เช่น อลูมิเนี่ยมผสมหล่อขึ้นรูปด้วยแรงอัดสูง ( Die cast Aluminum ) หรือ วัสดุพลาสติกเสริมใยแก้ว ( Glass – fiber Reinforced Polyester )เป็นต้น
          () ฝาครอบ อาจทำด้วย พลาสติกกระจายแสงแบบแผ่นแก้ว( Polycarbonate Toughened Flat Glass ) หรือ กระจกอะคริลิก ( Acrylic Glass ) ซึ่งแสงจากหลอดไฟต้องผ่านได้สะดวก และต้องทนต่อรังสีอุลตราไวโอเลตด้วยแผ่นสะท้อนแสงซึ่งติดตั้งเหนือ และข้างหลอดไฟต้องเป็นแบบอลูมิเนียมคุณภาพสูง
          () ส่วนควบคุม จะอยู่ด้านหลังเพื่อใส่บัลลาสต์ อิกนิเตอร์ (Ignitor) คาปาซิเตอร์ และขั้วต่อสาย เนื่องจากโคมไฟถนนจะต้องติดตั้งนอกอาคาร จึงต้องมีการป้องกันแมลง ฝุ่น และน้าเข้าสู่โคมไฟ ดังนั้นโคมไฟถนนจึงต้องมีระดับการป้องกัน (Degree of Protection) อย่างน้อยดังนี้
- ส่วนของหลอด (Lamp Compartment) IP 54
- ส่วนควบคุม (Control Gear Compartment) IP 23
          IP (Ingress Protection) Ratings - IP Rating หมายถึง ดัชนีที่แสดงการป้องกันสิ่งแปลกปลอม เช่นฝุ่นละออง หรือของเหลว ที่จะเล็ดลอดเข้าไปในดวงโคม โดยปกติจะแสดงเป็นตัวเลข 2 หลัก  การกำหนด IP Rating จะกำหนดในรูปแบบ ดังนี้ IP x y (z)
          I P 1 2 แสดงค่าความสามารถในการป้องกันของเหลวแสดงค่าความสามารถในการป้องกันวัตถุเล็ดลอดเข้าภายในดัชนีแสดงค่าการป้องกันสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปในดวงโคม ตัวเลขที่ 1 (x) หมายถึง การป้องกันของแข็ง เช่น เส้นลวด หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ฝุ่นละอองไม่ให้เข้าไปในดวงโคม ตัวเลขที่ 2 (y) หมายถึง การป้องกันของเหลวไม่ให้เข้าไปในดวงโคม บางกรณีจะมีตัวเลขที่ 3 (z) หมายถึง การป้องกันการกระแทกจากภายนอก (Impact Protection) ซึ่งปกติจะไม่ค่อยได้ใช้ในการกำหนดคุณสมบัติตัวอย่าง เช่น IP 52 หมายถึง การป้องกันฝุ่นได้ และป้องกันของเหลวที่ตกมาในแนวดิ่งและแนวที่ทำมุม 15 องศากับแนวดิ่งได้     
กิ่งโคมไฟฟ้า (Rod หรือ Arm) หมายถึง อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับโคมไฟฟ้า และแป้นติดกิ่งโคม เพื่อยื่นออกไปให้แสงสว่างแก่บริเวณที่ต้องการ
          แป้นติดกิ่งโคม (Bracket) หมายถึง อุปกรณ์ที่ติดกับเสาไฟฟ้า ผนัง หรือกาแพงเพื่อยึดกิ่งโคมไฟฟ้า และโคมไฟฟ้า   
          หลอดไฟฟ้า หรือ ดวงโคม (Lamp) หมายถึง แหล่งกำเนิดแสงสว่าง มีหลายชนิดและสามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการใช้งาน เช่น หลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนท์ และหลอดแสงจันทร์ เป็นหลอดที่เหมาะสาหรับถนนสายรองและทางเท้า หลอดไฟฟ้าโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium Lamp) ซึ่งให้แสงสว่างในลักษณะสีเหลือง (Monochromatic Yellow Light) เหมาะสาหรับไฟถนนที่จุดทางแยก และเส้นทางที่มีทัศนวิสัยซึ่งยากแก่การมองเห็น เช่น ภาคเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีหมอกลงจัด หลอดไฟฟ้าโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium Lamp) มีอายุการใช้งานยาวกว่าและให้สีเป็นธรรมชาติกว่า (Render Colours) เหมาะสาหรับพื้นที่ที่ต้องการความสว่างสดใส
          อุปกรณ์ควบคุม (Control Switch) หมายถึง อุปกรณ์ควบคุมการ เปิดปิดไฟฟ้าสาธารณะ มีหลายชนิด เช่น สวิตช์เวลา (Time Switch) สวิตช์ควบคุมด้วยแสง (Photo Switch) และสวิตช์ธรรมดา เป็นต้น
          เสาไฟฟ้า หรือ เสาดวงโคม หมายถึง เสาที่ยึดกิ่งโคมและดวงโคมเพื่อให้ได้ความสูงตามต้องการ อาจจะเป็นเสาของการไฟฟ้าฯ หรือเสาที่จัดซื้อพิเศษพร้อมชุดโคมไฟนั้นๆ
          ความกว้างของถนน หมายถึง ระยะห่างจากขอบถนน (Kerb) ถึงขอบถนนของอีกฝั่ง กรณีไม่มีทางเท้าให้นับจากแนวเขตที่ดิน (Property Line) ถึงแนวเขตที่ดินของอีกฝั่ง
การติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะจาเป็นจะต้องดาเนินการโดยคำนึงถึงหลักวิชาการ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
          มาตรฐานความส่องสว่าง ในถนนสายหลัก ถนนสายรอง ทางแยก วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรประเภทถนน ความส่องสว่างเฉลี่ยวัดในแนวระดับต่ำสุด (Lux) มีดังนี้
1. ถนนสายหลัก 15 Lux
2. ถนนสายรอง 10 Lux
3. ทางแยก 22 Lux
4. วงเวียนที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจร 15 Lux
  

ผู้ติดตั้ง ดูแล รับผิดชอบ
        1. ถนนสายหลัก  คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกันทรลักษ์
2. ถนนสายรอง คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอกันทรลักษ์และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม
3. ทางแยกในชุมชน คือ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม

ข้อเสนอแนะและข้อแก้ไขเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าสาธารณะในชุมชน
1 ด้านสถานที่ ถนนสายหลัก ถนนสายรอง และบริเวณทางแยก
1.1 ถนนสายหลัก (1) ถนนลาดยาง สายอุบล – กันทรลักษ์ ถนนสายรอง และบริเวณทางแยก
     - ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้ครบทุกบริเวณทางแยก
          - ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้ครบตลอดระยะทาง 2 กิโลเมตร ที่อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม

1.2 ถนนสายหลัก (2) ถนนลาดยางสายกันทรารมย์ – กันทรลักษ์ ถนนสายรอง และบริเวณทางแยก
- ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้ครบทุกบริเวณทางแยก
          - ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้ครบตลอดระยะทาง 6 กิโลเมตร ที่อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม
- ควรติดตั้งไฟสัญญาณจราจรบริเวณทางแยก
- ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะตามถนนสายรอง ให้ครอบทุกสายทาง
- ควรติดตั้งสายไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้สูงกว่าความสูงของรถบรรทุกอ้อย

1.3 ถนนสายหลัก (3) ถนนลาดยางสายบ้านหนองงูเหลือมพัฒนา – บ้านโนนจักจั่น ถนนสายรอง และบริเวณทางแยก
          - ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้ครบตลอดระยะทาง ที่อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม
     - ควรติดตั้งไฟสัญญาณจราจรบริเวณทางแยก

2 ด้านความสว่าง จากจุดติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง
- มีความเหมาะสม กับสถานที่และจานวนรถที่สัญจรไปมา
- ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างเพิ่มจากดเดิม 1 จุดเป็น 2 จุดเพื่อเพิ่มแสงสว่างโดยติดตั้งตรงข้ามกัน
- ไม่ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างส่องเข้าที่นาเพราะจะทำให้ต้นข้าวไม่ออกรวงข้าว
- ควรเพิ่มแสงสว่างตรงบริเวณทางแยกที่สำคัญ


3 ด้านการซ่อมแซมและแก้ไขไฟฟ้าแสงสว่างที่ชารุด
     - ต้องการให้ซ่อมแซม และแก้ไขไฟฟ้าแสงสว่างที่ชารุดให้รวดเร็วขึ้น
          - เสนอให้แจ้งผลการซ่อมแซมผ่านผู้ใหญ่บ้าน และให้ผู้ใหญ่บ้านรายงานออกหอกระจายข่าวอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
          - เสนอให้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม ออกข้อบังคับกำหนดโทษ และอัตราการปรับแก่ผู้ขับรถบรรทุกอ้อย หรือผู้ที่ทาให้สายไฟฟ้าแสงสว่างขาด หรืออุปกรณ์อื่นชารุดเสียหาย

4 ข้อเสนอแนะอื่นๆ
- ควรติดตั้งไฟสัญญาณเตือน ติดตั้งป้ายจราจรตามถนนสายหลัก
- ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ตรงบริเวณป้ายประกาศ และป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ
- ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่าง ในวัด และบริเวณศาลากลางบ้าน

 สรุปผลที่ได้จากการสำรวจไฟฟ้าสาธารณะในชุมชน
          จากข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างที่มีความเห็นว่าควรมีการ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม ในบริเวณทางแยก และตาม แนวถนนสายรอง ดังนั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานการให้บริการงานไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเบญจลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ  ควรนำ ข้อเสนอแนะที่กลุ่มตัวอย่างได้เสนอแนะไว้ในประเด็น อื่น ๆ ได้แก่ การ ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้ครบทุกบริเวณทางแยก การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะให้ ครบตลอดระยะทางถนนสายหลัก ถนนสายรอง ที่อยู่ในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองงูเหลือม ให้มีการติดตั้งไฟสัญญาณจราจรบริเวณทางแยก การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างเพิ่มจากเดิม 1 จุดเป็น 2 จุดเพื่อเพิ่มแสงสว่างโดยติดตั้งตรงข้ามกัน ไม่ควรติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างส่องเข้าที่นา เพราะจะทำ ให้ต้นข้าวไม่ออกรวง อยากให้ซ่อมแซม และแก้ไขไฟฟ้าแสงสว่างที่ชำรุดให้รวดเร็ว ขึ้น เสนอให้แจ้งผลการซ่อมแซมผ่านผู้ใหญ่บ้าน และให้ผู้ใหญ่บ้านรายงานออกหอกระจายข่าว อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เสนอให้ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวฝาย ออกข้อบังคับกำหนดโทษ และอัตราการปรับแก่ผู้ขับรถบรรทุก หรือผู้ที่ทำให้สายไฟฟ้าแสงสว่างขาด หรืออุปกรณ์อื่น ชำรุดเสียหาย เสนอให้มีการติดตั้งไฟสัญญาณเตือน เสนอให้ติดตั้งป้ายจราจร
         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น