เขียนโดย นายบุญจันทร์ พินิจ ตำแหน่ง ราษฎรเต็มขั้น
เนติธรรม
เป็นวัฒนธรรมทางด้านกฎหมาย หรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีความสำคัญเสมอด้วยกฎหมายหรือการกระทำบางอย่างที่ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ แต่ถ้าใครทำเข้าก็เป็นที่รังเกียจของสังคม เช่นพ่อแม่มีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรถ้าพ่อแม่เพิกเฉยละทิ้งหน้าที่ ก็จะถูกกฎหมายลงโทษ แต่เมื่อลูกโตขึ้นไม่เลี้ยงดูพ่อแม่ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย บ้านเมืองจะลงโทษไม่ได้ แต่จะเป็นที่ครหานินทาของสังคม ทั้งนี้เพราะพุทธศาสนาสอนในเรื่องของความกตัญญูต่อบุพการี
เนติธรรมของชาวตำบลหนองงูเหลือม เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับกฎระเบียบของสังคมชาวหนองงูเหลือม หน้าที่ของแต่ละบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม นอกจากจะปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ชาวตำบลหนองงูเหลือมยังปฏิบัติตามกฎของสังคมประเพณีที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันมาช้านาน กฎเหล่านี้ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นกฎหมาย แต่ทุกคนได้ยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น
บุญอัฐิ
ญาติโยมผู้มีศรัทธาปรารถนาจะทำกฐิน แต่ไม่มีวัดว่างเพราะมีคนจองหมดแล้ว หากรอปีต่อไปไม่ได้จะทำเป็นบุญอัฐิก็ได้ ปัจจัยไทยทานก็มีเหมือนกับกฐิน คือ มีบริขาร 8 เป็นต้น จะต่างกันก็เพียงแต่ชื่อ และอานิสงส์ที่จะได้รับเท่านั้น การทำอัฐิมักจะทำในเทศกาลเดือนสิบสองนี้
บุญผ้าป่า
ผ้าไตรจีวร หรือผ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีผู้ศรัทธานำไปแขวนไว้ในป่า ในป่าช้าหรือที่หนึ่งที่ใด เมื่อพระสงฆ์ไปพบเข้าก็ชักบังสุกุลเอามาใช้ เทศกาลนี้นิยมทำหลังบุญกฐิน แต่ทุกวันนี้บุญผ้าป่าสามารถทอดได้ตลอดปี
บุญข้าวประดับดิน
การทำบุญข้าวประดับดินของชาวบ้าน เมื่อถึงวันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะหาอาหารคาวหวานแบ่งออกเป็น 4 ส่วนส่วนหนึ่งสำหรับตนเอง ส่วนหนึ่งแจกญาติพี่น้อง ส่วนหนึ่งทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย ส่วนหนึ่งถวายทานแก่พระภิกษุสามเณรสำหรับส่วนที่ทำบุญอุทิศแก่ผู้ตาย จะห่อเป็นห่อ ๆ มีห่อคาวหนึ่งห่อ ห่อหวานหนึ่งห่อห่อหมากพลูบุหรี่หนึ่งห่อ ทั้งสามห่อนี้มัดติดกันเป็นห่อใหญ่ แล้วนำห่อใหญ่นี้ไปแขวนไว้ตามต้นไม้ หรือวางไว้ตามพื้นดิน การเอาไปวางไว้บนดินนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า ข้าวประดับดินส่วนที่เอาไปถวายพระภิกษุสามเณรนั้น ส่วนหนึ่งใส่บาตร อีกส่วนหนึ่งถวายเป็นภัตตาหาร จะถวายตอนจังหันเช้าหรือเพลก็ได้ เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้วจะอนุโมทนาญาติโยมก็กรวดน้ำ แผ่ส่วนบุญกุศลไปให้ญาติพี่น้องที่ตายไปการทำดังที่กล่าวมา ถือว่าเป็นการทำบุญส่งไปให้ผู้ตาย
บุญคูณลาน
บุญคูณลานเป็นพิธีบุญที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วนำมานวดที่ลานนวดข้าว เสร็จจากนั้นเอาข้าวที่นวดแล้วมากองรวมกันขึ้นให้สูง เรียกว่า “คูณลาน” ก่อนที่จะนำข้าวไปเก็บในยุ้งก็จะทำ “บุญคูณลาน” ใช้ลานข้าวเป็นสถานที่ทำบุญ ด้วยการเชิญญาติพี่น้องให้มาร่วมทำบุญ
นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ขึงด้ายสายสิญจน์รอบกองข้าว เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์แล้วจึงถวายอาหารบิณฑบาต จากนั้นจึงเลี้ยงญาติมิตร พระสงฆ์อนุโมทนา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้แก่ญาติมิตรผู้มาร่วมพิธีตลอดจนนำไปประพรมลานข้าว นา วัว ควาย เจ้าของนาเพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป บางแห่งจะนำหมอขวัญมาทำพิธีสู่ขวัญข้าวหลังจากพิธีสงฆ์เสร็จแล้ว เนื้อความของคำสวดสู่ขวัญนั้นจะกล่าวขอโทษแม่โพสพที่ตนกระทำล่วงเกินเมล็ดข้าว โดยใช้ความเหยียบย่ำบนลานนวดข้าว ขอให้แม่โพสพมาอยู่เป็นขวัญกองข้าวในลานต่อไป
บุญพระเวสส์
เมื่อถึงเดือนสี่ ชาวบ้านจะพากันทำบุญพระเวสส์ในมื้อโฮม (วันสุกดิบ) ผู้เฒ่าผู้แก่จะจัดเครื่องสักการะ มีดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น มารวมกันที่ศาลาโรงธรรม ดอกไม้ธูปเทียนแต่ละอย่างจัดให้ครบพันเรียกว่า บูชาคาถาพัน ปักธงสี่หลักของทิศทั้งสี่ ปลูกหออุปคุตในบริเวณนั้น การปลูกหออุปคุตก็เพื่อป้องกันมิให้ภูตผีปีศาจมาทำอันตรายแก่พระสงฆ์ที่มาเทศน์ในงาน หรือมาขัดขวางพิธีกรรมงานบุญพระเวสส์ในเวลาบ่ายสามโมง ชายหนุ่มหญิงสาวจะพากันไปแห่พระเวสส์เข้าเมือง รวมทั้งไปเก็บดอกไม้มาบูชาพระเวสส์ด้วยการไปแห่พระเวสส์ ถ้าบ้านใดมีรูปพระเวสส์เป็นแผ่นผ้าก็จัดเอาไปด้วยผ้าพระเวสส์ (ภาคกลางเรียกว่าผ้าพระบฏ) บางแห่งนิมนต์พระภิกษุอาวุโสนั่งบนแท่นตกแต่งสวยงามใส่คานหามแห่โดยสมมติว่าเป็นพระเวสสันดร เมื่อไปถึงป่าที่มีดอกไม้ก็เก็บเอาดอกไม้ ได้ดอกไม้แล้วก็พากันแห่พระเวสส์กลับมา ถึงบริเวณศาลาโรงธรรมก็แห่รอบศาลาโรงธรรมสามรอบแล้วเอาดอกไม้ขึ้นไปบูชาพระธรรม ส่วนผ้าพระเวสส์ที่เอาไปด้วยนั้นเพื่อแห่รอบศาลาโรงธรรมแล้วก็เอารูปพระเวสส์ไปขึงไว้ตามเสาของศาลาโรงธรรมนั้น ตอนกลางคืนจะพากันมาฟังเทศน์ก็ได้ในวันรวมหรือมื้อโฮมบุญพระเวสส์ตอนกลางคืนจะมีการทำวัตรเย็นด้วย พระสงฆ์จะสวดมนต์ในการสวดมนต์นี้จะมีสวดชัยน้อยชัยใหญ่ (ชัยมงคล) ด้วย เมื่อสวดมนต์จบก็เริ่มเทศน์ ขั้นต้น
วัตถุธรรม
เป็นวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น โดยไม่ได้หมายถึงเฉพาะวัตถุทางศิลปกรรมเท่านั้น ยังรวมถึงบ้านเรือน เครื่องแต่งกาย ข้าวของเครื่องใช้ ถนนหนทาง เครื่องอำนวยความสะดวกทุกชนิดก็จัดเป็นวัตถุธรรมทั้งสิ้น
วัตถุธรรม ได้แก่ ลักษณะเครื่องใช้ที่เป็นวัตถุซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ในลักษณะเป็นงานฝีมือ อันส่อแสดงถึงความฉลาด และการพัฒนาของชุมชนตำบลหนองงูเหลือม และมีความหมายต่อชีวิตสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติของกลุ่ม วัฒนธรรมของชุมชนตำบลหนองงูเหลือม
๑. เครื่องแต่งกายและการแต่งกาย การแต่งกายสมัยอดีตของชาวตำบลหนองงูเหลือม ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นยาวปิดเข่า นิยมตกแต่งชายผ้าซิ่น เรียกว่า “ ตีนซิ่น ” ผ้าซิ่นจะมีสีน้ำเงินเข้ม (สีหม้อดิน) ทางลงสีขาว ปกติใช้ผ้าฝ้ายหากเป็นพิธีการใช้ผ้าไหม เสื้อแขนกระบอก เกล้าผมมวยสูง หากอายุมากจะเกล้าผมมวยต่ำไว้ที่ท้ายทอย ห่มสไบทับเสื้อในงานพิธีเรียกว่า ผ้าเบี่ยง หรือ ผ้าห่มเบี่ยง ส่วนผู้ชายกางเกง เรียกว่า “ โซ่ง ” กางเกงยาวเหนือเข่าหรือเสมอเข่า เสื้อคอกลม ผ่าหน้าติดกระดุม แขนกระบอก ผ้าขาวม้าคาดเอว บางครั้งก็นุ่งผ้าโสร่งไหม
๒. ที่อยู่อาศัย /เฮือนอีสาน เรือนอีสานส่วนใหญ่จะมีลักษณะเปิดโล่งและโปร่งลมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ ตัวเรือนจะมีฝากั้นเฉพาะส่วนทีเป็นเรือนนอนและฝาด้านนอกบางส่วน เรือนพื้นถิ่นของชาวหนองงูเหลือมแยกตามประเภทและลักษณะใหญ่ๆ ได้ ๓ ลักษณะ คือ
๑) เฮือนแฝดมีเรือนโข่ง เป็นเรือนปลูกสร้างคู่กัน ระหว่างเรือนใหญ่หรือเรือนนอนกับเรือนโข่ง (เรือนระเบียง) โดยให้หลังคาเรือนสองหลังมาจรดกันมีฮางลิน (รางน้ำ) เชื่อมต่อระหว่างเรือนทั้งสอง
๒) เฮือนเดี่ยวไม่มีเรือนโข่ง เป็นเรือนขนาดเล็กกว่าเรือนแฝด ส่วนประกอบของเรือน มีเรือนใหญ่ (เรือนนอน) เพียงหลังเดียว หน้าเรือนเป็นเฉลียงมีโครงสร้างหลังคาต่อจากเรือนใหญ่ ด้านหน้าเฉลียงเป็นซาน (ชาน) และฮ้านแอ่งน้ำ (เรือนโอ่งน้ำ) เรือนเดี่ยวมีบันไดขึ้นลงมาทางเดียว
๓) เฮือนชั่วคราว เป็นเรือนที่ปลูกสร้างขึ้นชั่วคราวของผู้ที่ออกเรือนใหม่ที่มีฐานะไม่มั่นคงพอ ก็จะสร้างเป็นเรือนชั่วคราวอยู่ระยะหนึ่งใกล้กับเรือนพ่อแม่ เรือนชั่วคราวมี ๒ ลักษณะ คือ ท้าโครงสร้างลักษณะเกย (เพิง) ต่ออาคาร เช่น เกยต่อเล่าข้าว (เพิงต่อยุ้งข้าว) และชนิดเป็นตูบหรือกระต๊อบเล็กๆ ปลูกสร้างจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หญ้า ใบไม้ และวัสดุอื่นๆ เรือนชั่วคราวเป็นเรือนขนาดเล็กจึงไม่แบ่งกั้นห้อง
๓. การงาน / อาชีพของชาวตำบลหนองงูเหลือม
๑) การช่างชาย ผู้ชายทุกคนพอเริ่มเป็นหนุ่ม (เป็นบ่าว) จะต้องหัดทำการงานให้เป็น เช่น งานจักสาน จะต้องสานกระบุง กระต่า คุ คาน กระด้ง กระเบียน ไซ หวด กระติบ โตก ขันหมาก เลื่อยไม้ ถากไม้ ไสกบ คราด ไถ ฝั่นเชือก ฝั้นค่าว
๒) การช่างหญิง ผู้หญิงทุกคน พ่อแม่ต้องสอนให้มีความรู้ในการงานของแม่เรือน มีตักน้ำ ตำข้าว เย็บปัก ถัก ร้อย ต่ำหูก เลี้ยงม้อนป้อนไหม เป็นต้น
๓) การท้าสวนครัว ที่ชานเรือนทุกครอบครัว เขาจะมีฮาง (ราง) ปลูกผักแชะแงะ (สระแหน่) ผักแป้น (กุ่ยฉ่าย) ผักบั่ว (หัวหอม) ผักเทียม
๔) การเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เป็นต้น ใต้ถุนเรือนจะมีวัวควายผูกอยู่ทุกเสาเรือน
๕) การเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าว มันสำปะหลัง ปอ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
๖) การประมง
๔. ศิลปวัตถุและศาสนสถาน ส่วนใหญ่เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา เช่น สิมหรืออุโบสถพื้นเมืองของอีสานทั้งที่มีจิตรกรรมฝาผนัง หรือเรียกว่า ฮูปแต้ม และที่ไม่มีจิตรกรรมฝาผนังจิตรกรรมของภาคอีสานมีภาพเขียนสีมากพอๆ กับภาคอื่น มีทั้งภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์ ภาพเขียนผนังโบสถ์ ภาพเขียนตามพื้นผ้า เป็นภาพเขียนฝีมือชาวบ้าน
๖. อาหารการกิน
- คนหนองงูเหลือมมักกินอาหารตามธรรมชาติ อยู่อย่างง่ายๆ ไม่พิถีพิถัน อาหารการกินของคนอีสาน จัดประเภทเป็นกลุ่ม ดังนี้
- ประเภทต้ม เช่น ต้มไก่ ต้มปลา ต้มงัว ต้มน้องงัว เป็นต้น
- ประเภทลาบ เช่น ลาบปลา ลาบเนื้อ ลาบไก่ ลาบเป็ด ลาบหอย ลาบปู ลาบเทา เป็นต้น
- ประเภทอ่อม เช่น อ่อมไก่ อ่อมปลา อ่อมหอย อ่อมงัว เป็นต้น
- ประเภทซุบ เช่น ซุบหน่อไม้ ซุบเห็ด ซุบดอกแค ซุบหมากมี่ ซุบหมากเขือ ซุบหมากอึอ่อน เป็นต้นประเภทแกง เช่น แกงปลา แกงไก่ แกงเห็ด แกงหน่อไม้ แกงไข่มดแดง แกงขี้เหล็ก แกงผักหวาน เป็นต้น
- ประเภทป่น เช่น ป่นปลา ป่นกัง ป่นแมงดา ป่นดักแด้ เป็นต้น
- ประเภทต้า เช่น ต้าหมากหุ่ง ต้าหมากแตง ต้าหมากถั่ว ต้าเหมี่ยง เป็นต้น
- ประเภทย่าง เช่น ไก่ย่าง ปลาย่าง เนื้อย่าง เป็นต้น
- ประเภทปิ้ง เช่น ปิ้งไก่ ปิ้งปลา ปิ้งกบ ปิ้งเขียด ปิ้งนก เป็นต้น
- ประเภทหมก เช่น หมกฮวก หมกไก่ หมกหน่อไม้ หมกเห็ด หมกไข่มดแดง เป็นต้น
- นอกจากนี้ยังมีการถนอมอาหารอีกเช่น หม่ำไส้กรอก หน่อไม้อัดปี๊บ ส้มผักต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น